เลือกซื้อ ไดโน่ Dyno Test แบบไหนดี. ให้เหมาะกับการใช้งาน
ไดโน่ แน่นอนรู้กันอยู่ว่าเอาไว้ วัดแรงม้า แรงบิด ปลายทางในการวัดผลเครื่องยนต์ที่ทำมา แต่ลึกเข้าไปจริงๆนั้น กราฟไดโน่มีอะไรมากกว่านั้น มันทั้ง เวลาในการทดสอบ แรงม้า แรงบิด ความนิ่งของกราฟ ที่แรงม้าที่วัดมาได้ ต้องทับกัน ทุกการทดสอบ และยังมีปัจจัยอย่างอื่นอีก ที่จะใส่เข้าไปเพื่อใช้วิเคราะห์ขีดจำกัดของเครื่องยนต์
วันนี้เรามาทำความเข้าใจกับไดโน่แบบลูกกลิ้งที่ ว่ามีโหลดกับไม่มีโหลดแตกต่างกันอย่างไร
1.Inertia load (การหน่วงน้ำหนักด้วยแรงเฉี่อย)
2.Eddy Current (การเหนี่ยวนำด้วยกระแสไฟฟ้า)
1.Inertia load (การหน่วงน้ำหนักด้วยแรงเฉี่อย)
โดยเป็นแบบลูกกลิ้งที่ใช้น้ำหนักของตัวลูกกลิ้ง ในการกำหนดความเหมาะสมให้กับการใช้งาน คิดง่ายๆ ถ้าเราต้องการใช้กับรถแรงม้าน้อยๆ 5-30 แรงม้า ก็ต้องทำขนาดลูกกลิ้ง เส้นผ่านศูนย์กลาง ความยาว และ ที่สำคัญคือ น้ำหนักของลูกกลิ้ง ให้เหมาะสม
เพื่อใช้ระยะเวลา ในการทดสอบแรงม้า แรงบิด ไม่เร็วจนเกินไป และ ไม่ช้าจนเกินไป (ปกติใช้ระยะเวลาในการทดสอบ ของกราฟไม่เกิน10วินาที/กราฟ) ขึ้นอยู่กับแรงม้าของเครื่องยนต์
แต่แน่นอน เมื่อเราใช้งานไดโน่ไป ลูกค้าเอารถที่มีแรงม้าสูงกว่าลูกกลิ้งที่เรามี จะทำอย่างไร หรือต้องมีแท่น2ตัว หรือหลายตัวตามขนาดของ CC รถ หรือป่าว เราเลยต้องมีไดโน่ที่มีโหลด เข้ามาช่วย
2.Eddy Current (การเหนี่ยวนำด้วยกระแสไฟฟ้า)
เมื่อมีการใช้งานที่กว้างขึ้น จึงต้องพัฒนานำเอา การหน่วงกระแสไฟฟ้าEddy Current (การเหนี่ยวนำด้วยกระแสไฟฟ้า) โดยจะใช้ชุดโหลด กระแสแอดดี้ มาติดเข้ากับล้อลูกกลิ้ง และเขียนกล่องควบคุมเพื่อจ่ายกระแสไฟฟ้า ไปหน่วงล้อลูกกลิ้ง ตามรอบและเวลาที่เหมาะสม เมื่อมีโหลดแล้ว เราจะใส่ฟังก์ชั่น ที่ทำให้การทดสอบแรงม้า ออกมาให้วัดผลเครื่องยนต์ของเราได้อย่างสมบูรณ์แบบ ได้อีกหลายฟังก็ชั่น เช่น
1.ใส่สมการให้เหมือนค่าโหลดที่วิ่งบนถนนจริง(Road Sim)
2.ปรับตั้งความลาดชันของถนนเป็นองศา ได้
3.เพิ่มโหลดที่ล้อเพื่อกำหนดรอบของเครื่องยนต์(มีประโยชน์สำหรับจูนเนอร์ในการจูนตามรอบที่ต้องการ) และยัง สามารถ ใส่เซ็นเซอร์อื่นๆเพิ่มเติมเพื่อวัดผลเครื่องยนต์ออกมาได้